งานที่มีหลักฐาน : "ฉากแท่นบูชาศีลศักดิ์สิทธิ์" (ค.ศ. 1464-1468) และ "ความยุติธรรม" (ค.ศ. 1470-1475) ของ ดีร์ก_เบาตส์

"พระกระยาหารมื้อสุดท้าย" ค.ศ. 1464-1467

"พระกระยาหารมื้อสุดท้าย" เป็นแผงกลางของ "ฉากแท่นบูชาศีลศักดิ์สิทธิ์" ในโบสถ์นักบุญปีเตอร์ที่เลอเฟิน ที่จ้างโดยสมาคมภราดรภาพแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งเลอเฟินในปี ค.ศ. 1464 เส้นเชิงตั้งฉาก (orthogonal line) ทุกเส้นในห้องกลางมุ่งไปสู่จุดอันตรธานจุดเดียวที่เตาผิงเหนือพระเศียรของพระเยซู แต่ห้องเล็กด้านข้างมีจุดอันตรธานต่างหาก และทั้งห้องเล็กและจุดอันตรธานของห้องหลักตรงกับเส้นขอบฟ้าของภูมิทัศน์ที่มองเห็นจากหน้าต่าง ภาพ "พระกระยาหารมื้อสุดท้าย" เป็นงานชิ้นที่สองที่ลงวันที่ (หลังจากภาพ "พระแม่มารีและพระบุตรบนบัลลังก์กับนักบุญเจอโรมและนักบุญฟรานซิส" โดยเปตรึส คริสตึส ที่แฟรงก์เฟิร์ต ใน ค.ศ. 1457) ที่แสดงความเข้าใจในการเขียนภาพที่ใช้ทัศนมิติของอิตาลี

นอกจากนั้นนักวิชาการยังตั้งข้อสังเกตว่างาน "พระกระยาหารมื้อสุดท้าย" เป็นงานจิตรกรรมแผงของตระกูลการเขียนแบบเฟลมิช ที่เขียนหัวเรื่องพระกระยาหารมื้อสุดท้าย แต่แผงกลางของเบาตส์มิได้เน้นเหตุการณ์ตามคำบรรยายในคัมภีร์ไบเบิลแต่แสดงภาพพระเยซูในบทของนักบวชผู้ทำพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ในพิธีมิสซา ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากภาพพระกระยาหารมื้อสุดท้ายอื่น ๆ ที่เขียนกันมาที่มักจะเน้นความทรยศของนักบุญจูดาส์ หรือการที่พระเยซูปลอบนักบุญจอห์น นอกจากนั้นเบาตส์ก็ยังเพิ่มความซับซ้อนในภาพโดยเพิ่มผู้รับใช้อีกสี่คน (สองคนที่โผล่หน้าต่างอีกสองคนยืนอยู่ในห้อง) ทั้งหมดแต่งตัวแบบเฟลมิช ที่เคยกล่าวกันว่าเป็นภาพเหมือนของเบาตส์เองและลูกชายสองคน แต่อันที่จริงแล้วผู้รับใช้ทั้งสี่น่าจะเป็นสมาชิกของสมาคมภราดรภาพผู้จ้างให้เบาตส์วาดภาพมากกว่า

นอกไปจากแผงกลาง "ฉากแท่นบูชาศีลศักดิ์สิทธิ์" แล้วฉากแท่นบูชาเดิมก็ยังมีแผงข้างประกบอีกข้างละสองแผง แต่เพราะแผงอื่นเป็นของพิพิธภัณฑ์ในเบอร์ลินและมิวนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ฉะนั้นการพยายามสร้างบานพับภาพทั้งแผงตามแบบฉบับเดิมจึงเป็นการยากที่จะทำได้ ในปัจจุบันเชื่อกันว่าแผงที่มีภาพเอบราฮัมและเมลคิเซดิก (Melchizedek) อยู่เหนือภาพการฉลองปัสกา (Passover Feast) ทางด้านซ้าย และแผงการเตรียมอาหารอยู่เหนืออีไลจาห์และเทวดาทางปีกขวา แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น

หลังจากที่ได้รับตำแหน่งจิตรกรประจำเมืองเลอเฟินในปี ค.ศ. 1468 แล้ว เบาตส์ก็ได้รับงานเขียนภาพอีกสองภาพจากสำนักงานเทศบาลเมือง ชิ้นแรกเป็นการเขียนภาพ "พระกระยาหารมื้อสุดท้าย" ระหว่างปี ค.ศ. 1468-1470 ซึ่งมีเพียงแผงปีสองแผงที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน "ถนนสู่สวรรค์" และ "Fall of the Damned" ในพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ที่เมืองลีล (Lille) ในประเทศฝรั่งเศส และอีกชิ้นหนึ่ง "ภาพครึ่งตัวของพระเยซู" จากแผงกลางที่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่กรุงสต็อกโฮล์ม หลังจากนั้นเบาตส์ก็เขียนงานชิ้นใหญ่สำหรับงานเขียนจิตรกรรมแผง "ความยุติธรรม" (Justice Panels) ระหว่างปี ค.ศ. 1470-1475 ซึ่งเป็นงานที่เขียนจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1475 เบาตส์เขียนแผงหนึ่งเสร็จและเริ่มเขียนแผงที่สอง ทั้งสองแผงเป็นภาพชีวิตของจักรพรรดิออทโทที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีชีวิตอยู่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ปัจจุบันทั้งสองแผงตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ที่บรัสเซลส์ แต่อีกสองแผงที่ตั้งใจจะเขียนเขียนไม่เสร็จ

ใกล้เคียง

ดีร์ก เกอวต์ ดีร์ก เบาตส์ ดีร์ก ฟัน บาบือเริน ดาร์ก (ละครชุดทางโทรทัศน์) ดาร์กฮอร์ส (เพลงเคที เพร์รี) ดาร์กช็อกโกแลต ดาร์กคิงดอม ดาร์กสกายไอส์แลนด์ ดาร์กเกอร์แดนบลัด ดาร์กฮอร์ส

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดีร์ก_เบาตส์ http://193.190.214.109/webopac/List.csp?Profile=De... http://www.getty.edu/art/gettyguide/artObjectDetai... http://cartelen.louvre.fr/cartelen/visite?srv=car_... http://www.wga.hu/html/b/bouts/dirk_e/index.html http://www.nortonsimon.org/collections/highlights.... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Bouts_Justi... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Bouts_Justi... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Bouts_Madon... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Bouts_Madon... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Bouts_Portr...